วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

Record 8
27 September 2016


* Midterm Exam *

Record 7
20 September 2016

เมื่อมาถึงห้องเรียนแล้ว เริ่มต้นด้วยการคัดลายมือเหมือนเดิม การคัดครั้งนี้ครั้งที่ 3


ต่อมา อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเอง 
พร้อมอธิบายแนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์

ชื่อของเล่น รถพลังงานยาง

วัสดุอุปกรณ์
  1. หลอด 2 อัน
  2. ไม้เสียบลูกชิ้น 1 อัน
  3. ไม้จิ้มฟัน 2 อัน
  4. แผ่นซีดีเก่า 2 แผ่น
  5. ฝาขวดน้ำ 6 ฝา
  6. หนังยางเส้นเล็ก 4 เส้น
  7. กาว UHU




วิธีการทำ
  1. เจาะรูให้ทะลุ ให้สามารถสอดไม้เสียบลูกชิ้นได้ ห่างจากปลาย 1 ซ.ม.
  2. เจาะรูให้ทะลุ ให้สามารถสอดไม้จิ้มฟันได้ ห่างจากปลาย 2.5 ซ.ม.
  3. ทำเหมือนกันทั้งสองก้าน ให้รูทั้งสองก้านตรงกัน
  4. นำไม้จิ้มฟันมาเสียบเพื่อประกอบตัวรถทั้ง 2 ด้าน
  5. เจาะรูเล็กๆ บนฝาขวดน้ำทั้ง 6 ฝา เพื่อที่จะเสียบแกนหมุนได้ง่าย
  6. ประกอบแกนและล้อหน้าเข้ากับตัวรถ
  7. ทำล้อหลังโดยทากาว UHU ที่ฝาขวดน้ำทั้งสอง แล้วนำมาติดลงที่แผ่นซีดีทั้งสองข้าง
  8. เสียบไม้ลูกชิ้นเข้ากับล้อหลัง
  9. นำมาสอดเข้ากับรูกับปลายอีกข้างของตัวรถ
  10. ต่อหนังยางทั้ง 4 เส้น
  11. ประกอบหนังยางเข้ากับตัวรถ
  12. ถอดไม้จิ้มฟันด้านหน้าออกข้างหนึ่ง แล้วรัดหนังยาง ดึงให้แน่น



วิธีการเล่น
- จับที่ไม้ลูกชิ้นตรงล้อหลังแล้วหมุนไม้เข้าหาตัวเอง 6-7 ครั้ง แล้วปล่อยมือออก
  เพื่อให้รถเคลื่อนที่

หลักการวิทยาศาสตร์   
         รถพลังยาง การใช้หนังยางเป็นตัวขับเคลื่อนที่ของล้อ เพื่อให้รถนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ 
โดยการเคลื่อนของรถใช้หลักการความหนาแน่นของวัตถุ การเคลื่อนที่ของรถใช้หลัก
การพลังงานศักย์ยืดหยุ่นของหนังยาง และแรงเสียดทานระหว่างล้อและพื้น ซึ่งต้อง
มีการคำนวณรูปร่าง และความสมดุลของรถ การประยุกต์รูปทรง และรูปร่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 
การเคลื่อนที่ของรถ

เนื้อหาการเรียนการสอน
     อาจารย์ได้มีตัวอย่างของเล่นทางวิทยาศาสตร์มาให้ดู


1. การทดลองระดับน้ำในสายยาง การยกกรวยฝั่งใดฝั่งหนึ่งขึ้น ระดับน้ำในสายยาง
ก็จะมีปริมาณน้ำเท่ากัน ใช้หลักการนี้ในการสร้างบ้าน



2. ภาพมือ 3 มิติ เป็นการวาดภาพมือของตัวเองลงไปในกระดาษ 
แล้วลากเส้นไปเรื่อยๆจนสุด เราก็จะเห็นภาพมือ 3 มิติ

การทดลอง "ดอกไม้บาน"


การทดลอง
   1. ตั้งประเด็นปัญหา : ทำไมดอกไม้ถึงบาน
   2. ตั้งสมมติฐาน       : ถ้าเอาดอกไม้ไปวางบนน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
   3. ทดลอง               : สังเกตการเปลี่ยนแปลง
        
ผลการทดลอง คือ น้ำวิ่งไปตามพื้นที่ของกระดาษ เมื่อกระดาษเปียกเลยทำให้ดอกไม้บาน



นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ (งานกลุ่ม)



ไฟฉายมหาสนุก
ใช้หลักการเกี่ยวกับสีของแสง คือ มีแสงทั้ง 3 ได้แก่ แสงสีน้ำเงิน แสงสีเหลือง และแสงสีแดง
ที่เป็นสีปฐมภูมิ หรือ แม่สี เมื่อนำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สี มารวมกัน 
จะเกิดเป็นสีทุติยภูมิ ซึ่งสีจะมีความแตกต่างกันในเรื่อง ระดับความเข้มของสี
และความสว่างของแสง เราจะมองเห็นได้เพราะมีแสงสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่ตาเรา
วิธีการ คือ เอาไฟฉายเข้าไปส่องที่กระบอกกระดาษแก้วของแต่ละสี สีต่างๆก็จะสะท้อน
ออกมา เมื่อเรานำสี 2 สี มารวมกันก็จะเห็นเป็นสีใหม่


บ้านผีสิง
การมองเห็นเงาสะท้อนจากแสงในกล่อง เรามองเห็นเงาได้เพราะมีแสงสะท้อน
จากวัตถุเข้าสู่ตาเรา


กล้องโพรี่สโคป
หลักการสะท้อนจากกระจก 2 บาน ทำมุม 45 องศา คือ ด้านล่างที่คนส่อง สามารถมองเห็น
ด้านบน หรือมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านหน้าได้ ส่วนด้านบนก็สามารถมองเห็นคนส่องได้เช่นกัน

ความรู้เพิ่มเติม
   - มาตราฐานวิทยาศาสตร์มี 2 เรื่อง คือ สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิต
   - การเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
   - การทำกิจกรรม เกิดการตอบสนองของการทำงานของสมอง

ทักษะ
     - ทักษะด้านการเขียน
     - ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์
     - ทักษะด้านการสังเกต
     - ทักษะด้านการหาเหตุผล
     - ทักษะด้านการนำเสนอ
     - ทักษะด้านการทดลอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     - การทำกิจกรรมการทดลอง สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนไปใช้ทดลองกับเด็กได้
     - การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
     
เทคนิคการสอนของอาจารย์
     - การบรรยาย
     - การสาธิตสื่อการสอนให้เห็นของจริง
     - การทดลอง
     - การสังเกต

การประเมิน
     ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการสอนที่สมบูรณ์แบบ โดยการนำสื่อและการทดลอง
                                 มาให้นักศึกษาได้ทดลองด้วยตนเอง
     ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรม
     ประเมินเพื่อน     : เพื่อนให้สนใจในการทำกิจกรรม และตั้งใจเรียน


คำศัพท์
  • Friction   = แรงเสียดทาน
  • Observe  = สังเกต
  • Reflect    = สะท้อน
  • Water      = น้ำ
  • Light       = แสง




สรุปบทความ


เรื่อง     :โครงการผลิตสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย      : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหกหลังนอก จังหวัด กาญจนบุรี


            ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหกหลังนอกมีจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้
โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านให้เหมาะสมตามวัย 
วิทยาศาสตร์เป็นการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยอาศัยทักษะหลายด้าน เช่น การสังเกต การค้นคว้า 
และการทดลอง หรือเรียกว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มีความสำคัญ
กับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก ครูผู้ดูแลเด็กจึงเห็นความสำคัญในการผลิตสื่อวิทยาศาสตร์มา
ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ให้กับเด็ก กิจกรรมการผลิตสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
 คือ
       1.กิจกรรมขวดแสนสนุก
       2. กิจกรรมโทรศัพท์จ๊ะจ๋า

ประโยชน์ 
      1.เด็กได้ยินเสียงของเพื่อนมาตามเส้นเชือก 
      2.เด็กเกิดการเรียนรู้การเดินทางของเสียงว่าได้ยินชัดเมื่อเชือกตึง 
      3.เด็กสนุกสนานจากการเล่นโทศัพท์จ๊ะจ๋า



สรุปวิจัย


เรื่อง :  ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
           ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

โดย  : สำรวย   สุขชัย

ความมุ่งหมายของการวิจัย

    1. เพื่อศึกษาระดับพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนก
        รายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนก
        รายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    3. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำแนก
        รายทักษะ

กลุ่มตัวอย่าง

        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี 
ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนวัดยางสุทธาราม แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย สังกัดสำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน 
ในระหว่างการทดลองผู้ปกครองพาเด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองลากลับภูมิลำเนา 3 คน 
กลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยในการทดลองครั้งนี้ จึงมีเพียง 27 คน

ตัวแปรที่ศึกษา

      1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          สำหรับเด็กปฐมวัย
      2. ตัวแปรตาม   ได้แก่  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3 ทักษะ 
          ประกอบด้วย
             2.1 ทักษะการจำแนกประเภท
             2.2 ทักษะการสื่อความหมาย
             2.3 ทักษะการลงความเห็น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

      1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐาน
          ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
      2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปผลวิจัย

        ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดการเรียนรู้
ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 


Record 6
13 September 2016

การเรียนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการคัดพยัญชนะไทย 44 ตัว เป็นหัวกลมตัวเหลี่ยม
แต่ในการคัดครั้งนี้ อาจารย์ได้มีเทคนิดการคัดที่ถูกต้องมาให้ดูเป็นตัวอย่าง



อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ และให้ข้อสรุปของ
ของเล่นวิทยาศาสตร์


           การเคลื่อนที่แบบหมุนเป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่หมุนรอบศูนย์กลางมวล หรือหมุน
อยู่กับที่รอบแกนคงตัว และบางครั้งอาจมีการหมุนไปด้วย และเลื่อนตำแหน่งไปด้วย 
เช่น การหมุนของวงล้อหลากสี การเคลื่อนที่ของลูกข่าง พัดลม ล้อรถ ลูกฟุตบอล เป็นต้น 
ในบทเรียนนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับปริมาณต่างๆ ของการเคลื่อนที่แบบหมุนในเบื้องต้น

ความรู้ที่ได้รับ
     - ความหลากหลายของเด็กเป็นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
     - ก่อนจะเกิดความคล่องแคล่วต้องมีการคิดริเริ่มมาก่อน
     - การหมุนหลายครั้งจะเกิดพลังงานสะสม ทำให้เกิดพลังงานจล
     - การสืบส่องเป็นกระบวนการของการสอนวิทยาศาสตร์
     - สาระ คือ เนื้อหาความรู้

* เพิ่มเติม*
      เงาคืออะไร? เงา (ภาษาอังกฤษคือ Shadow)
คือ อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงฉายไปกระทบวัตถุนั้น ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้หรือเดินทาง
ไปถึงเพียงบางส่วน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. เงามืด คือ เงาในบริเวณที่ไม่มีแสงผ่านไปถึง ทำให้บริเวณนั้นมืดสนิท
2.
เงามัว คือ เงาบริเวณที่มีแสงบางส่วนผ่านไปถึง และทำให้บริเวณนั้นมืดไม่สนิท
     ลักษณะการเกิดเงามืดและเงามัว
ขนาดของเงามืดและเงามัวจะขึ้นอยู่กับระยะใกล้ - ไกลของฉาก ถ้าฉากอยู่ใกล้วัตถุเงามืด
จะมีขนาดใหญ่ แต่เงามัวจะมีขนาดเล็กลง ถ้าฉากอยู่ไกลจากวัตถุมากขึ้น 
เงามืดจะมีขนาดเล็กลงและเงามัวจะมีขนาดโตขึ้น ยกเว้นเฉพาะดวงไฟที่มีขนาดโต
เท่ากับวัตถุ ซึ่งจะให้เงามืดมีขนาดโตเท่ากับขนาดของวัตถุเสมอ

เนื้อหาการเรียนการสอน

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  1.1  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง 
และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว  1.2  เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มี
ผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ 
สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 2   ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2  เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3  สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1  เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง
และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2  เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   
การเกิดสารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ 
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4  แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์  
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  
มาตรฐาน ว 4.2  เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ           
สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5  พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม   
มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก 
ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ 
และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7  ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1  เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์
ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2  เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศ
และทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิต
และสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1  ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะ
หาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน 
สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ 
เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

 ต่อมา อาจารย์ได้นำตัวอย่างของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ใช้เป็นสื่อการสอนมาให้ดูเป็นตัวอย่าง

1. ภาพการเคลื่อนไหว เป็นลักษณะภาพที่คล้ายๆ กัน ถ้าเราเปิดภาพเร็วๆ 
จะดูเหมือนภาพสามารถเคลื่อนไหวได้


วีดีโอ



2. ภาพหมุน เป็นลักษณะเหมือนภาพเดียว ถ้าเราหมุนไม้ก็จะเห็นได้ว่านกอยู่บนต้นไม้



3. รูปเปลี่ยนสี เป็นรูปภาพที่เราใช้กระดาษแก้วสีต่างมาประดิษฐ์ 
และนำกระดาษแก้วแต่ละสีมารวมกัน จะทำให้เกิดสีใหม่


ทักษะ
     - ทักษะด้านการเขียน
     - ทักษะด้านการใช้ความคิดสร้างสรรค์
     - ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์
     - ทักษะด้านการสังเกต

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     - การวาดภาพออกแบบสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้
     - การคัดลายมือช่วยให้พัฒนาลายมือของตนเองให้ดีขึ้น
     - การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สามารถนำไปใช้ในอนาคตและบูรณาการในรายวิชาอื่นได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์
     - การยกตัวอย่างให้เห็นสื่อของจริง
     - การบรรยายอย่างละเอียด
     - การให้เหตุผล
     - การใช้คำถาม

การประเมิน
     ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมเนื้อหาและสื่อการสอนมาได้ครบถ้วนและตรงต่อเวลา
     ประเมินตนเอง   : ตรงต่อเวลา ให้ความสำคัญต่อการเรียน
     ประเมินเพื่อน     : ให้ความสนใจและตั้งใจทำกิจกรรรม


คำศัพท์
  • Rotation     = การหมุน
  • Shadow      = เงา
  • Organism  = สิ่งมีชีวิต
  • The card substances = สมบัตรสาร
  • Energy      = พลังงาน


วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

Record 5
6 September 2016

วันนี้อาจารย์ติดงาน ต้องไปทำพิธีเปิดงานนิทรรศการของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 
แต่อาจารย์ได้สั่งงานไว้ให้ทำ คือ คัดพยัญชนะไทย 44 ตัว และดูวีดีโอวิทยาศาสตร์



ความรู้ที่ได้รับ

เรื่อง "อากาศ"




อากาศคืออะไร
     อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา 
กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ใน
ที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ 
หรือหมุนกังหันลมได้

อากาศและบรรยากาศมีความสำคัญ ดังนี้

1. มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
2. มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ
3. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกัน
    การสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวัน
    กับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับ ฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมี
    ความอบอุ่นขึ้น
4. ทำให้เกิดลมและฝน
5. มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม
   เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
6. ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรอง
    หรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง 
    และโรคต้อกระจก
7. ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตราย
    ต่อมนุษย์และทรัพย์สิน
8. ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม โดยอนุภาคของสิ่งอื่นที่ปนอยู่กับก๊าซในบรรยากาศจะทำให้
    แสงหักเหเราจึงมองเห็นท้องฟ้ามีแสงสีที่งดงามแทนที่จะเห็นเป็นสีดำมืด นอกจากนี้
    ก๊าซโอโซนซึ่งมีสีน้ำเงินยังช่วยให้มองเห็นท้องฟ้าเป็นสีครามหรือสีฟ้าสดใสอีกด้วย

หลังจากที่ดูวีดีโอเสร็จแล้ว อาจารย์ให้ไปดูงานนิทรรศการที่พี่ปี 5 ได้จัดทำขึ้น







ทักษะ
     - ทักษะด้านการเขียน
     - ทักษะด้านการฟังและการจำ
     - ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์
     - ทักษะด้านการออกแบบ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     - สามารถนำวีดีโอวิทยาศาสตร์ไปใช้สอนในอนาคตได้
     - สามารถนำตัวอย่างการจัดนิทรรศการไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนได้
     - การคัดลายมือเป็นประจำสม่ำเสมอสามารถเรามีพัฒนาลายมือให้สวยมากขึ้นเรื่อยๆ

เทคนิดการสอนของอาจารย์
     - อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกการสังเกต
     - อาจารย์ให้นักศึกษาแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

การประเมิน
     ประเมินอาจารย์ : อาจารย์วางแผนการสอนได้ดีมาก ถึงแม้อาจารย์จะไม่ว่างแต่ก็ได้
                              สั่งงานที่มอบหมายให้นักศึกษาได้ทำ
     ประเมินตนเอง   : ตั้งใจศึกษาดูงานที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ให้
     ประเมินเพื่อน    : เพื่อนมีความตั้งใจในการดูวีดีโอ และให้ความสำคัญกับการเรียน


คำศัพท์

  • Wind   = ลม
  • Air       = อากาศ
  • Gas     = ก๊าซ
  • Test     = การทดลอง
  • Ray     = รังสี