วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

Record 6
13 September 2016

การเรียนในวันนี้เริ่มต้นด้วยการคัดพยัญชนะไทย 44 ตัว เป็นหัวกลมตัวเหลี่ยม
แต่ในการคัดครั้งนี้ อาจารย์ได้มีเทคนิดการคัดที่ถูกต้องมาให้ดูเป็นตัวอย่าง



อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ และให้ข้อสรุปของ
ของเล่นวิทยาศาสตร์


           การเคลื่อนที่แบบหมุนเป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่หมุนรอบศูนย์กลางมวล หรือหมุน
อยู่กับที่รอบแกนคงตัว และบางครั้งอาจมีการหมุนไปด้วย และเลื่อนตำแหน่งไปด้วย 
เช่น การหมุนของวงล้อหลากสี การเคลื่อนที่ของลูกข่าง พัดลม ล้อรถ ลูกฟุตบอล เป็นต้น 
ในบทเรียนนี้เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับปริมาณต่างๆ ของการเคลื่อนที่แบบหมุนในเบื้องต้น

ความรู้ที่ได้รับ
     - ความหลากหลายของเด็กเป็นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
     - ก่อนจะเกิดความคล่องแคล่วต้องมีการคิดริเริ่มมาก่อน
     - การหมุนหลายครั้งจะเกิดพลังงานสะสม ทำให้เกิดพลังงานจล
     - การสืบส่องเป็นกระบวนการของการสอนวิทยาศาสตร์
     - สาระ คือ เนื้อหาความรู้

* เพิ่มเติม*
      เงาคืออะไร? เงา (ภาษาอังกฤษคือ Shadow)
คือ อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงฉายไปกระทบวัตถุนั้น ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้หรือเดินทาง
ไปถึงเพียงบางส่วน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. เงามืด คือ เงาในบริเวณที่ไม่มีแสงผ่านไปถึง ทำให้บริเวณนั้นมืดสนิท
2.
เงามัว คือ เงาบริเวณที่มีแสงบางส่วนผ่านไปถึง และทำให้บริเวณนั้นมืดไม่สนิท
     ลักษณะการเกิดเงามืดและเงามัว
ขนาดของเงามืดและเงามัวจะขึ้นอยู่กับระยะใกล้ - ไกลของฉาก ถ้าฉากอยู่ใกล้วัตถุเงามืด
จะมีขนาดใหญ่ แต่เงามัวจะมีขนาดเล็กลง ถ้าฉากอยู่ไกลจากวัตถุมากขึ้น 
เงามืดจะมีขนาดเล็กลงและเงามัวจะมีขนาดโตขึ้น ยกเว้นเฉพาะดวงไฟที่มีขนาดโต
เท่ากับวัตถุ ซึ่งจะให้เงามืดมีขนาดโตเท่ากับขนาดของวัตถุเสมอ

เนื้อหาการเรียนการสอน

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  1.1  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง 
และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว  1.2  เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มี
ผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ 
สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 2   ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2  เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3  สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1  เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง
และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2  เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   
การเกิดสารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ 
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4  แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์  
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  
มาตรฐาน ว 4.2  เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ           
สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5  พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม   
มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก 
ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ 
และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7  ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1  เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์
ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2  เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศ
และทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิต
และสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1  ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะ
หาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน 
สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ 
เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

 ต่อมา อาจารย์ได้นำตัวอย่างของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ใช้เป็นสื่อการสอนมาให้ดูเป็นตัวอย่าง

1. ภาพการเคลื่อนไหว เป็นลักษณะภาพที่คล้ายๆ กัน ถ้าเราเปิดภาพเร็วๆ 
จะดูเหมือนภาพสามารถเคลื่อนไหวได้


วีดีโอ



2. ภาพหมุน เป็นลักษณะเหมือนภาพเดียว ถ้าเราหมุนไม้ก็จะเห็นได้ว่านกอยู่บนต้นไม้



3. รูปเปลี่ยนสี เป็นรูปภาพที่เราใช้กระดาษแก้วสีต่างมาประดิษฐ์ 
และนำกระดาษแก้วแต่ละสีมารวมกัน จะทำให้เกิดสีใหม่


ทักษะ
     - ทักษะด้านการเขียน
     - ทักษะด้านการใช้ความคิดสร้างสรรค์
     - ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์
     - ทักษะด้านการสังเกต

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     - การวาดภาพออกแบบสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้
     - การคัดลายมือช่วยให้พัฒนาลายมือของตนเองให้ดีขึ้น
     - การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สามารถนำไปใช้ในอนาคตและบูรณาการในรายวิชาอื่นได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์
     - การยกตัวอย่างให้เห็นสื่อของจริง
     - การบรรยายอย่างละเอียด
     - การให้เหตุผล
     - การใช้คำถาม

การประเมิน
     ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมเนื้อหาและสื่อการสอนมาได้ครบถ้วนและตรงต่อเวลา
     ประเมินตนเอง   : ตรงต่อเวลา ให้ความสำคัญต่อการเรียน
     ประเมินเพื่อน     : ให้ความสนใจและตั้งใจทำกิจกรรรม


คำศัพท์
  • Rotation     = การหมุน
  • Shadow      = เงา
  • Organism  = สิ่งมีชีวิต
  • The card substances = สมบัตรสาร
  • Energy      = พลังงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น