วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

Record 7
20 September 2016

เมื่อมาถึงห้องเรียนแล้ว เริ่มต้นด้วยการคัดลายมือเหมือนเดิม การคัดครั้งนี้ครั้งที่ 3


ต่อมา อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเอง 
พร้อมอธิบายแนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์

ชื่อของเล่น รถพลังงานยาง

วัสดุอุปกรณ์
  1. หลอด 2 อัน
  2. ไม้เสียบลูกชิ้น 1 อัน
  3. ไม้จิ้มฟัน 2 อัน
  4. แผ่นซีดีเก่า 2 แผ่น
  5. ฝาขวดน้ำ 6 ฝา
  6. หนังยางเส้นเล็ก 4 เส้น
  7. กาว UHU




วิธีการทำ
  1. เจาะรูให้ทะลุ ให้สามารถสอดไม้เสียบลูกชิ้นได้ ห่างจากปลาย 1 ซ.ม.
  2. เจาะรูให้ทะลุ ให้สามารถสอดไม้จิ้มฟันได้ ห่างจากปลาย 2.5 ซ.ม.
  3. ทำเหมือนกันทั้งสองก้าน ให้รูทั้งสองก้านตรงกัน
  4. นำไม้จิ้มฟันมาเสียบเพื่อประกอบตัวรถทั้ง 2 ด้าน
  5. เจาะรูเล็กๆ บนฝาขวดน้ำทั้ง 6 ฝา เพื่อที่จะเสียบแกนหมุนได้ง่าย
  6. ประกอบแกนและล้อหน้าเข้ากับตัวรถ
  7. ทำล้อหลังโดยทากาว UHU ที่ฝาขวดน้ำทั้งสอง แล้วนำมาติดลงที่แผ่นซีดีทั้งสองข้าง
  8. เสียบไม้ลูกชิ้นเข้ากับล้อหลัง
  9. นำมาสอดเข้ากับรูกับปลายอีกข้างของตัวรถ
  10. ต่อหนังยางทั้ง 4 เส้น
  11. ประกอบหนังยางเข้ากับตัวรถ
  12. ถอดไม้จิ้มฟันด้านหน้าออกข้างหนึ่ง แล้วรัดหนังยาง ดึงให้แน่น



วิธีการเล่น
- จับที่ไม้ลูกชิ้นตรงล้อหลังแล้วหมุนไม้เข้าหาตัวเอง 6-7 ครั้ง แล้วปล่อยมือออก
  เพื่อให้รถเคลื่อนที่

หลักการวิทยาศาสตร์   
         รถพลังยาง การใช้หนังยางเป็นตัวขับเคลื่อนที่ของล้อ เพื่อให้รถนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ 
โดยการเคลื่อนของรถใช้หลักการความหนาแน่นของวัตถุ การเคลื่อนที่ของรถใช้หลัก
การพลังงานศักย์ยืดหยุ่นของหนังยาง และแรงเสียดทานระหว่างล้อและพื้น ซึ่งต้อง
มีการคำนวณรูปร่าง และความสมดุลของรถ การประยุกต์รูปทรง และรูปร่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 
การเคลื่อนที่ของรถ

เนื้อหาการเรียนการสอน
     อาจารย์ได้มีตัวอย่างของเล่นทางวิทยาศาสตร์มาให้ดู


1. การทดลองระดับน้ำในสายยาง การยกกรวยฝั่งใดฝั่งหนึ่งขึ้น ระดับน้ำในสายยาง
ก็จะมีปริมาณน้ำเท่ากัน ใช้หลักการนี้ในการสร้างบ้าน



2. ภาพมือ 3 มิติ เป็นการวาดภาพมือของตัวเองลงไปในกระดาษ 
แล้วลากเส้นไปเรื่อยๆจนสุด เราก็จะเห็นภาพมือ 3 มิติ

การทดลอง "ดอกไม้บาน"


การทดลอง
   1. ตั้งประเด็นปัญหา : ทำไมดอกไม้ถึงบาน
   2. ตั้งสมมติฐาน       : ถ้าเอาดอกไม้ไปวางบนน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
   3. ทดลอง               : สังเกตการเปลี่ยนแปลง
        
ผลการทดลอง คือ น้ำวิ่งไปตามพื้นที่ของกระดาษ เมื่อกระดาษเปียกเลยทำให้ดอกไม้บาน



นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ (งานกลุ่ม)



ไฟฉายมหาสนุก
ใช้หลักการเกี่ยวกับสีของแสง คือ มีแสงทั้ง 3 ได้แก่ แสงสีน้ำเงิน แสงสีเหลือง และแสงสีแดง
ที่เป็นสีปฐมภูมิ หรือ แม่สี เมื่อนำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สี มารวมกัน 
จะเกิดเป็นสีทุติยภูมิ ซึ่งสีจะมีความแตกต่างกันในเรื่อง ระดับความเข้มของสี
และความสว่างของแสง เราจะมองเห็นได้เพราะมีแสงสะท้อนจากวัตถุเข้าสู่ตาเรา
วิธีการ คือ เอาไฟฉายเข้าไปส่องที่กระบอกกระดาษแก้วของแต่ละสี สีต่างๆก็จะสะท้อน
ออกมา เมื่อเรานำสี 2 สี มารวมกันก็จะเห็นเป็นสีใหม่


บ้านผีสิง
การมองเห็นเงาสะท้อนจากแสงในกล่อง เรามองเห็นเงาได้เพราะมีแสงสะท้อน
จากวัตถุเข้าสู่ตาเรา


กล้องโพรี่สโคป
หลักการสะท้อนจากกระจก 2 บาน ทำมุม 45 องศา คือ ด้านล่างที่คนส่อง สามารถมองเห็น
ด้านบน หรือมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านหน้าได้ ส่วนด้านบนก็สามารถมองเห็นคนส่องได้เช่นกัน

ความรู้เพิ่มเติม
   - มาตราฐานวิทยาศาสตร์มี 2 เรื่อง คือ สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิต
   - การเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
   - การทำกิจกรรม เกิดการตอบสนองของการทำงานของสมอง

ทักษะ
     - ทักษะด้านการเขียน
     - ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์
     - ทักษะด้านการสังเกต
     - ทักษะด้านการหาเหตุผล
     - ทักษะด้านการนำเสนอ
     - ทักษะด้านการทดลอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     - การทำกิจกรรมการทดลอง สามารถนำแนวทางการเรียนการสอนไปใช้ทดลองกับเด็กได้
     - การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
     
เทคนิคการสอนของอาจารย์
     - การบรรยาย
     - การสาธิตสื่อการสอนให้เห็นของจริง
     - การทดลอง
     - การสังเกต

การประเมิน
     ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการสอนที่สมบูรณ์แบบ โดยการนำสื่อและการทดลอง
                                 มาให้นักศึกษาได้ทดลองด้วยตนเอง
     ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรม
     ประเมินเพื่อน     : เพื่อนให้สนใจในการทำกิจกรรม และตั้งใจเรียน


คำศัพท์
  • Friction   = แรงเสียดทาน
  • Observe  = สังเกต
  • Reflect    = สะท้อน
  • Water      = น้ำ
  • Light       = แสง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น