วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Record 12
25 October 2016

       ก่อนที่จะเริ่มต้นการเรียนการสอน อาจารย์ได้พูดคุยกับนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการแต่งกาย
จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่ของเนื้อหาการเรียนการสอน อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมจาการเรียน
ที่ผ่านมาและตรวจงานการทำ Mind Mapping เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เริ่มต้นด้วยหน่วย........

หน่วยที่ 1 หน่วยต้นไม้



หน่วยที่ 2 หน่วยผผลไม้



หน่วยที่ 3 หน่วยปลา



หน่วยที่ 4 หน่วยยานพาหนะ



หน่วยที่ 5 หน่วยไข่



หน่วยที่ 6 หน่วยอากาศรอบตัวฉัน



หน่วยที่ 7 หน่วยดอกไม้


* เพิ่มเติม *
  • ส่วนประกอบของแต่ละหน่วยต้องอธิบายด้วยว่าแต่ละส่วนมีหน้าที่อะไร
  • การเขียนหนังสือ ไม่ควรเขียนตัวอักษรวัยรุ่น ควรเขียนตัวหนังสือที่มีหัวและอ่านออกง่าย
  • หน่วยไข่ มีข้อบกพร่องและต้องปรับปรุงในเรื่องของตัวหนังสือและเส้น Mind Mapping
ต่อมา อาจารย์ทบทวนมาตราฐานการเรียนรู้เด็กปฐมวัยและอธิบายเพิ่มเติมให้สอดคล้อง
กับหน่วยของแตะกลุ่ม


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

มาตรฐาน ว  1.1  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง 
และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว  1.2  เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มี
ผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ 
สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2   ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว 2.2  เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3  สารและสมบัติของสาร

มาตรฐาน ว 3.1  เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง
และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว 3.2  เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   
การเกิดสารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ 
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4  แรงและการเคลื่อนที่

มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์  
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  

มาตรฐาน ว 4.2  เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ           

สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5  พลังงาน

มาตรฐาน ว 5.1  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม   
มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6  กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

มาตรฐาน ว 6.1  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก 
ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ 
และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7  ดาราศาสตร์และอวกาศ

มาตรฐาน ว 7.1  เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์
ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐาน ว 7.2  เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศ
และทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิต
และสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มาตรฐาน ว 8.1  ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะ
หาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน 
สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ 
เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

* ภาระงาน *
  • ให้นักศึกษาเขียนแผนของแต่ละกลุ่มลงในกระดาษ A4 ของแต่ละคน 1 แผ่น (งานเดี่ยว)
  • ให้นักศึกษาเขียนแผนการสอนมาว่า ในหน่วยของตนเองให้แบ่งการสอนแต่ละวัน         
           และในแต่วันจะสอนอะไร พร้อมบอกว่าได้มาตราฐานข้อใด
ทักษะ
      - ทักษะด้านการฟัง
      - ทักษะด้านการคิด
      - ทักษะด้านการเชื่อมโยงและสอดคล้อง
      - ทักษะด้านการเขียน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      การเรียนการสอนในวันนี้ สามารถนำความรู้ที่ได้รับในเรื่องของการเขียน Mind Mapping 
และมาตราฐานการเรียนรู้เด็กปฐมวัยไปใช้จัดกิจกรรม จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยได้
และยังสามารถนำไปบูรณาการในรายวิชาอื่นได้อีกด้วย

เทคนิคการสอนของอาจารย์
      - สอนโดยการบรรยาย
      - สอดโดยการให้ข้อคิดต่างๆ

การประเมิน
      - ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนโดยการใช้คุณธรรมจริยธรรมมาสอดแทรกให้เข้ากับเนื้อหา
                                    การเรียนการสอน
      - ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟัง
      - ประเมินเพื่อน     : เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย


    
คำศัพท์
  • The dress     = การแต่งกาย
  • Writing        = การเขียน
  • The unit       = หน่วยการเรียนรู้
  • Ingredient    = ส่วนประกอบ
  • Review       = ทบทวน



วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Record 11
18 October 2016

เมื่อถึงห้องเรียน อาจารย์เริ่มต้นการเรียนการสอนโดยการทบทวนความรู้เดิม
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่อง STEM 

เนื้อหาการเรียนการสอน
(ความรู้เพิ่มเติม)
* การเรียนรู้ เกิดจากการลงมือกระทำและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
* สมอง เป็นหัวใจสำคัญ เป็นนายงานในการสั่งงาน
   
      การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้ ทักษะ และเจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหา
และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

ข้อควรคำนึงในการประดิษฐ์ของเล่น
   - การทำงาน ควรทำงานให้มีความละเอียดลออ ให้มีความคงทน
   - การตกแต่งชิ้นงานของเล่น ทำให้เสียโอกาสในการทำงาน ความสวยงามต้องไม่ลดทอน
     สิ่งที่เราตั้งใจทำ
   - การทำงานบ่อยๆของเด็ก เกิดการต่อยอดที่หลากหลายและเกิดความคล่องแคล่วในการทำงาน

การสอนแบบบูรณาการ (เด็กได้รับอะไร?)
   - เด็กได้เรียนรู้ในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลายๆวิชาของหน่วยหนึ่ง
     
          หน่วยการสอนของเด็ก  - เรื่องที่เกี่ยวกับเด็ก
                                               - เรื่องที่มีผลกระทบกับเด็ก
                                               - เรื่องที่เด็กสนใจ

   - การออกแบบ การจัดกิจกรรม ควรจัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้

                        วิธีการเรียนรู้  - การลงมือกระทำกับวัตถุ
                                              - ประสาทสัมผัสทั้ง 5
                                              - เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
                                              - มีอิสระ / ได้รับกำลังใจจากผู้อื่น    

มาตราฐานการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



ต่อมาเป็นการทำกิจกรรม อาจารย์ให้จับกลุ่มละ 5 คน จากนั้นให้คิดหน่วยการสอนที่สอดคล้อง
กับวิทยาศาสตร์ และได้แจกกระดาษให้กลุ่มละ 1 แผ่น เพื่อที่จะทำ Mind Mapping

หน่วยไข่


หน่วยยานพาหนะ 


หน่วยต้นไม้ 


หน่วยผลไม้


หน่วยปลา


หน่วยดอกไม้


หน่วยอากาศรอบตัวฉัน




ทักษะ
     - ทักษะด้านการฟัง
     - ทักษะด้านการเขียน (Mind Mapping)
     - ทักษะด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น
     - ทักษะด้านการคิด

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     - สามารถนำการการเขียน Mind Mapping ไปใช้เขียนในการเรียนการสอนให้ถูกต้องถูกวิธี
     - สามารถนำหน่วยการสอนไปบูรณาการให้หลากหลายวิธีได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์
     - การบรรยาย
     - การให้ข้อเสนอแนะ
    
การประเมิน
     - ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ให้คำแนะนำตลอดการสอน
     - ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
     - ประเมินเพื่อน    : เพื่อนตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

คำศัพท์
  • Exhaustively = ละเอียดลออ
  • Integration    = การบูรราการ
  • Sense           = ประสาทสัมผัส
  • Encouragement = กำลังใจ
  • Teaching unit    = หน่วยการสอน

Record 10
11 October 2016

เมื่อมาถึงห้องเรียนกันครบทุกคนแล้ว อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้คนละ 1 แผ่น
พร้อมกับให้เขียนขั้นตอนวิธีการประดิษฐ์ของเล่นของตนเอง 
จากนั้นให้นำไปติดที่กระดานหน้าห้องเรียน




* การนำผลงานไปติดที่หน้าห้องเรียนเรียกว่า " เครื่องมือในการนำเสนอเทคโนโลยี "

ต่อมา อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน แล้วให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดกันว่าจะเลือกผลงาน
ของเพื่อนคนไหนมากลุ่ม 1 ชิ้น แล้วให้มาเขียนดัดแปลงเพิ่มเติม โดยใช้คำที่เข้าใจง่าย
เพื่อนำไปจัดกิจกรรมกับเด็ก และการทำกิจกรรมกับเด็กต้องอัดวีดีโอขั้นตอนการทำของเล่น
ลงไปใน Youtube ด้วย
กลุ่มของดิฉันระดมความคิดกันว่าจะเลือกจัดกิจกรรมของ นางสาววรัญญา ศรีดาวฤกษ์
กิจกรรมที่จะจัดคือ คานดีดไม้ไอติม


จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มวางแผนก่อนว่าจะจัดกิจกรรมแบบไหน จะเริ่มต้นอย่างไร
และแบ่งหน้าที่ให้แต่ละคน กลุ่มของเราจะนเสนอกิจกรรมโดยการเปิด Youtube ให้ดู 
แต่ถ้าโรงเรียนนั้นไม่สามารถเปิดได้ เราจะนำเสนอกิจกรรมโดย แผ่นชาทแทน
ขั้นตอนของการสอน คือ
1. ให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ก่อน ว่ามีอะไรบ้างและมีจำนวนเท่าไหร่
2. อธิบายขั้นตอนวิธีการทำ แล้วให้เด็กลงมือปฏิบัติตามขั้นตอน
3. ให้เด็กได้เล่นของเล่นที่ประดิษฐ์ 
4. สรุปผลการทำกิจกรรม


คานดีดไม้ไอติม


รถพลังงานลม


เครื่องเป่าลม


ขวดน้ำนักขนของ


ทักษะ
     - ทักษะด้านการออกแบบ
     - ทักษะการใช้เทคโนโลยี
     - ทักษะการนำเสนอ
     - ทักษะการฟัง
     - ทักษะการคิด
     - ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      - การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง
      - สามารถนำกิจกรรมไปบูรณาการ STEM&STEAM ได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์
      - สอนโดยการให้คำแนะนำและคำปรึกษา
      - สอนโดยการบรรยาย

การประเมิน
      - ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตรงต่อเวลา ให้คำปรึกษาตลอด
      - ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆ
      - ประเมินเพื่อน     : เพื่อนตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือกันในกลุ่มดี

คำศัพท์
  •     Present  =  นำเสนอ 
  •     Tool        =  เครื่องมือ
  •     Brainstorm = ระดมความคิด
  •     Toy        =  ของเล่น
  •     Plan      =  วางแผน



Record 9
4 October 2016

ทำกิจกรรม Cooking
ไม่มีบันทึกการเรียน เนื่องจากไม่สบาย