วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Record 13
1 November 2016

         เมื่อนักศึกษาเข้าเรียนครบทุกคนแล้ว อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเปิดวีดีโอ
การทำของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่ได้อัพโหลดลงใน Youtube 
พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการทำวีดีโอ

กลุ่มที่ 1 เรื่องหลอดมหัศจรรย์



กลุ่มที่ 2 เรื่องรถพลังงานลม



กลุ่มที่ 3 เรื่องคานดีดไม้ไอติม



กลุ่มที่ 4 เรื่องขวดน้ำนักขนของ



เนื้อหาการเรียนการสอน
กรอบการเรียนรู้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ที่ต้องคำนึงถึงในการเขียนแผ่นชาท
1. กรอบการเคลื่อนไหวด้านร่างกาย
    - ความสัมพันธ์ระหว่างประสาทสัมผัสกับอวัยวะ > ตากับกล้ามเนื้อมัดเล็ก / การเขียน
    - สุขภาพอนามัยทำให้ร่างกายแข็งแรง > ออกกำลังกาย / รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    - การเปลี่ยนแปลงอวัยะส่วนต่างๆ คือ "การเจริญเติบโตที่ดี" > ส่วนสูง / น้ำหนัก
2. กรอบด้านอาารมณ์-จิตใจ
    - แสดงอารมณ์ทางความรู้สึก
    - รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
3. กรอบด้านสังคม
    - ต้องช่วยเหลือตนเอง
    - การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
4. กรอบด้านสติปัญญา (ระบบการทำงานของสมอง)
    - ภาษา > ตัวหนังสือ
    - การคิด > คิดเชิงเหตุผล / คิดแก้ปัญหา / คิดวิเคราะห์

ต่อมา อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มตามหน่วยของตนเอง แล้วอธิบายการสอน
เพื่อจะนำไปบูรณาการในการสอนทั้ง 6 สาระ ดังนี้
สาระที่ 1 คณิตศาสตร์
มาตรฐาน - จำนวนและการดำเนินการ
                - การวัด
                - เรขาคณิต
                - พีชคณิต
                - การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                - ทักษะและกระบวนการทางตณิตศาสตร์

สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์
ทักษะ      - การสังเกต
                - การจำแนก
                - การวัด
                - การคำนวณ
                - ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา
                - การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
                - การลงความเห็นข้อมูล
                - การพยากรณ์ 
กระบวนการทางวิทยาสาสตร์

                                    ตั้งประเด็นปัญหา
                                               v
                                      ตั้งสมมติฐาน
                                               v
                                  ทดลอง (เก็บข้อมูล)
                                               v
                                    สรุป / อภิปรายผล

มาตรฐาน - สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
                - ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
                - สารและสมบัติของสาร
                - แรงและการเคลื่อนที่
                - พลังงาน
                - กระบวนการการเปลี่ยนแปลงของโลก
                - ดาราศาสตร์และอวกาศ
                - ธรรมชาติของวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี

สาระที่ 3 ภาษา
    - ฟัง 
    - พูด 
    - อ่าน
    - เขียน

สาระที่ 4 ศิลปะ
     - วาดภาพ / ระบายสี
     - ฉีก / แปะ
     - ปั้น
     - ประดิษฐ์
     - พิมพ์

สาระที่ 5 สังคม
     - การมีปฏิสัมพันธ์
     - การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
     - การช่วยเหลือตนเอง
     - มารยาททางสังคม

สาระที่ 6 สุขศึกษา / พลศึกษา
     - การเคลื่อนไหว
     - สุขภาพอนามัย
     - การเจริญเติบโต



กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้เขียนแผนผังออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้
ของเด็กปฐมวัย โดยมี 6 กิจกรรมหลัก ดังนี้

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3. กิจกรรมสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. กิจกรรมเกมการศึกษา



ทักษะ 
     - ทักษะการฟัง
     - ทักษะการคิด
     - ทักษะการเขียน (Mind Mapping)
     - ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     - การทำของเล่นวิทยาสาสตร์ สามารถนำไปใช้เล่นกับเด็กหรือนำไปใช้ในการเรียนการสอน
       และให้เด็กได้ลงมือประดิษฐ์ทำเองได้
     - การเขียนแผนผัง สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในรายวิชาอื่นได้
     
เทคนิคการสอนของอาจารย์
     - สอนโดยการบรรยาย
     - สอนโดยให้ข้อคิดข้อเสนอแนะ
     - สอนโดยให้ทำกิจกรรมกันเป็นกลุ่ม

การประเมิน
     - ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เตรียมอุปกรณ์ เนื้อหาการสอนมาครบถ้วน
     - ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกับเพื่อน
     - ประเมินเพื่อน     : เพื่อนให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ให้ข้อเสนอแนะที่ดี


คำศัพท์
  • Relationship = ความสัมพันธ์
  • Growth         = การเจริญเติบโต
  • Feeling         = ความรู้สึก
  • Prophecy      = พยากรณ์
  • Hypothesis   = สมมติฐาน









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น