วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Record 15
15 November 2016

วันนี้อาจารย์ให้ทำการสอนของแต่ละวัน โดยมีอาจารย์เป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะ

วันจันทร์ : หน่วยผลไม้


ขั้นนำ
    - เตรียมเด็กให้พร้อม
    - ร้องเพลงผลไม้
    - ถามเด็กว่า ในเพลงมีผลไม้อะไรบ้าง
    - บันทึกผล
    - ถามประสบการณ์เดิมเด็ก
ขั้นสอน
   - ครูให้เด็กๆนำผลไม้มาจากบ้าน
    - เอาผลไม้ใส่ตะกร้าแล้วถามเด็กๆว่ามีผลไม้อะไรบ้างที่อยู่ในตะกร้า
      ยกผลไม้ที่เป็นผลรวมขึ้นมาแล้วบอกเด็กๆว่านี่คือ องุ่น เพราะมีหลายๆลูกอยู่ในช่อเดียวกัน
      เรียกว่า ผลรวม  ผลไม้ที่เหลือในตะกร้าไม่ใช่ผลรวม แต่จะเป็น ผลเดี่ยว
     ลองมานับดูสิว่า ผลรวม กับ ผลเดี่ยว ผลไหนมีจำนวนมากกว่ากัน
ขั้นสรุป
     - เด็กๆรู้จักผลไม้อะไรบ้างที่เรียนไปในวันนี้
     - ผลเดี่ยว เป็นอย่างไร
     - ผลรวม เป็นอย่างไร



วันอังคาร : หน่วยไข่




ขั้นนำ
    - คุณครูแจกจิ๊กซอว์ให้เด็กๆ โดยให้เด็กๆหลับตา แล้วคุณครูก็เดินแจกจิ๊กซอว์ให้เด็กๆ
ขั้นสอน
    - ให้เด็กๆ ดูลักษณะของไข่ไก่ สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบ กลิ่น 
    และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์
    - ให้เด็กๆ ดูลักษณะของไข่เป็ด สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบ กลิ่น 
    และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์
ขั้นสรุป

    - คุณครูและเด็กช่วยกันสรุปลักษณะของไข่ไก่และไข่เป็ด และบันทึกลงไดอะแกรม


วันพุธ : หน่วยต้นไม้



ขั้นนำ
    - คุณครูและเด็ก่านคำคล้องจอง
    - คุณครูถามเด็กว่า "จากคำคล้องจอง เด็กๆมีการดูแลให้ต้นไม้เจริญเติบโตอย่างไร" 
      และบันทึกลงใน Mind Mapping
    - คุณครูถามเด็กว่า "เด็กๆคิดว่ามีวิธีการดูแลต้นไม้ให้เจริญเติบโตอย่างไรอีกบ้าง ที่นอกเหนือจากนี้"
      แล้วบันทึกลงใน Mind Mapping จากนั้นทบทวน Mind Mapping
ขั้นสอน
    - คุณครูแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กๆรู้จัก
    - คุณครูสาธิตวิธีการทำกิจกรรมให้เด็กดูเป็นตัวอย่างก่อน 1 รอบ
    - ทบทวนวิธีการปลูกถั่วงอก
    - คุณครูแจกอุปกรณ์ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ
ขั้นสรุป
    - คุณครูและเด็กๆสรุปวิธีการปลูกและวิธีการดูแลรักษาต้นถั่วงอก


วันพฤหัสบดี : หน่วยปลา







ขั้นนำ
    - คุณครูแนะนำวัตถุดิบ / อุปกรณ์ / วิธีการทำปลาชุปแป้งทอด พร้อมกับให้เด็กๆอ่านตามไปด้วย
ขั้นสอน
    - คุณครูสาธิตวิธีการทำปลาชุปแป้งทอดให้เด็กๆดูเป็นตัวอย่าง
    - คุณครูให้เด็กๆลงมือปฏิบัติทำกิจกรรมได้
ขั้นสรุป
    - คุณครูและเด็กๆร่วมกันสรุปขั้นตอนและวิธีการทำปลาชุปแป้งทอด


ทักษะ
    - ทักษะการฟัง
    - ทักษะการสอน
    - ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
    - ทักษะการสังเกต

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      การเรียนการสอนในวันนี้ สามารถนำวิธีการสอน เทคนิคการสอนในแต่ละหน่วยไปใช้เป็นแบบอย่าง
หรือเป็นตัวอย่างในการสอนที่แท้จริงในอนาคตและในรายวิชาอื่นได้

เทคนิคการสอนของอาจารย์
    - สอนโดยให้เทคนิคในการสอนทำกิจกรรม
    - สอนโดยบรรยาย

การประเมิน
    - ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เตรียมอุปกรณ์ เนื้อหาการสอนมาครบถ้วน
     - ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกับเพื่อน
     - ประเมินเพื่อน     : เพื่อนให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ให้ข้อเสนอแนะที่ดี

คำศัพท์
  • Preparing to Teach = เตรียมการสอน
  • Step tutorial  = ขั้นสอน
  • Cooking  = คุกกิ้ง
  • Jigsaw  = จิ๊กซอว์
  • Demonstration  = การสาธิต





วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Record 14
8 November 2016

เริ่มต้นด้วยการนำเสนอวีดีโอการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ 
ที่อาจารย์ให้กลับไปแก้ไขมาให้เรียบร้อย

ขวดน้ำนักขนของ



คานดีดไม้ไอติม



            ต่อมา อาจารย์ให้นั่งตามกลุ่มของแต่ละหน่วยตัวเอง ให้นักศึกษาคิดแผนการสอนของแต่ละคน
ว่าจะสอนวันไหน เรื่องอะไร แล้วอาจารย์ก็อธิบาย และให้ข้อเสนอแนะในการเขียนแผน
ของแต่ละวัน โดยเริ่มจาก วันจันทร์ ชนิด/ประเภท . วันอังคาร ลักษณะ .วันพุธ การเปลี่ยนแปลง .
 วันพฤหัสบดี ประโยชน์ . วันศุกร์ ข้อควรระวัง


                         
                                                           แผนการสอน หน่วยไข่ (วันจันทร์)
 เรื่อง ชนิด/ประเภท
วัตถุประสงค์
  1. เด็กบอกชื่อไข่ได้อย่างน้อย 5 ชนิด
  2. เด็กสามารถจัดประเภทของไข่ได้
  3. เด็กนับจำนวนไข่ได้โดยใช้เลขฮินดูอารบิคกำกับ
  4. เด็กสามารถตอบคำถามได้
สาระที่ควรเรียนรู้
     ไข่มีหลายชนิด ไข่เเต่ละชนิดมีช่อเรียกเเตกต่างกัน เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่ห่าน 
สามารถจัดเเบ่ง ออกได้เป็น 2 ประเภท 
ประสบการณ์สำคัญ
  ด้านสติปัญญา 
  - การรู้จักสิ่งต่างๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรสและกลิ่น 
  - การพูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง 
  - การสำรวจอธิบายความเหมือน ความต่างของสิ่งต่างๆ 
  - การจับคู่ การจำเเนก การจัดกลุ่ม 
  - การเปรียบเทียบ 
  - การคาดคะเนสิ่งต่างๆ 
  - การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน 
  - การนับสิ่งต่าง 
  - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
   1. เด็กและครูอ่านคำคล้องจองไข่ร่วมกัน "ไข่ไข่ไข่ ไข่มีหลายชนิด ไข่เป็ด ไข่ไก่ 
       ไข่ห่าน มาสิมาทานกันเถอะเด็กดี"
   2. ถามเด็กว่าในคำคล้องนี้เด็กรู้จักไข่อะไรบ้าง แล้วบันทึก 
       จากนั้นถามเด็กอีกว่านอกจากในคำคล้องจองนี้เด็กๆรู้จักไข่อะไรอีกบ้าง
ขั้นสอน
   3. นำไข่เป็ดและไข่ไก่ใส่แฝงไข่คลุมผ้าไว้ แล้วถามเด็กๆว่าในผ้านี้มีอะไร 
       เมื่อเด็กตอบถามเด็กอีกว่ามีไข่อะไรบ้าง และเด็กๆคิดว่ามีไข่กี่ฟอง 
       เสร็จแล้วนำออกมานับพร้อมใส่ตัวเลขฮินดูอารบิคกำกับ
   4. หยิบไข่ออกมาทีละฟอง นำมาจัดกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ไข่ไก่ มีสีเหลืองออกน้ำตาล 
       นี่คือไข่ไก่ แล้วให้เด็กๆออกมาสังเกตดูว่าไข่ใบไหนที่เป็นไข่ไก่อีก 
       ให้เด็กจับไข่ไก่เเยกออกมาจนหมด และที่เหลือไม่ใช่ไข่ไก่ เราเรียกมันว่าไข่เป็ด
   5. นับดูว่าไข่กลุ่มไหนมีจำนวนมากกว่ากัน นับ 1 ต่อ 1
ขั้นสรุป
   6. ถามเด็กว่าวันนี้เด็กรู้จักไข่อะไรบ้าง 
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
 - แผ่นชาร์ตคำคล้องจองไข่
 - แผ่นชาร์ทบันทึกชื่อไข่ที่เด็กรู้จัก
 - ไข่เป็ด ไข่ไก่
 - แผงไข่
 - ตัวเลขฮินดูอารบิค
การวัดเเละประเมินผล
    1. จากการสนทนาถามเด็ก
    2. จากการสังเกตกระบวนการขณะเด็กทำกิจกรรมจัดประเภทไข่
    3. จากการสังเกตกระบวนการขณะเด็กนับจำนวนและใช้เลขฮินดูอารบิคกำกับ
    4. จากการสนทนาถามเด็ก
การบูรณาการ
    - คณิตศาสตร์
    - ภาษา
    - วิทยาศาสตร์

แผนการสอน หน่วยไข่ (วันอังคาร)
 เรื่อง ลักษณะของไข่
วัตถุประสงค์
 1. เด็กอธิบายลักษณะที่เหมือนและต่างกันของไข่ได้ เช่น สี ขนาด รูปร่าง 
     ส่วนประกอบ และกลิ่น
 2. เด็กวิเคราะห์ลักษณะของไข่ได้ เช่น สี ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ กลิ่น 
     และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์
 3. เด็กเปรียบเทียบความต่างของไข่ได้ โดยใช้ไดอะแกรม
สาระที่ควรรู้
     ไข่มีลักษณะที่แตกต่างกัน สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบ และกลิ่น เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่
 ประสบการณ์สำคัญ
-  การวิเคราะห์      
-  การเปรียบเทียบ
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ให้เด็กๆ ช่วยกันต่อจิ๊กซอว์รูปไข่
ขั้นสอน
2. ให้เด็กๆ ดูลักษณะของไข่ไก่ สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบ กลิ่น 
    และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์
3. ให้เด็กๆ ดูลักษณะของไข่เป็ด สี ขนาด รูปทรง ส่วนประกอบ กลิ่น 
    และบันทึกลงในตารางวิเคราะห์
ขั้นสรุ
4. คุณครูและเด็กช่วยกันสรุปลักษณะของไข่ไก่และไข่เป็ด ลงในไดอะแกรม
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
 1. จิ๊กซอว์รูปไข่
 2. ไข่ไก่
 3. ไข่เป็ด
 4. ถ้วยใส่ไข่
 5. แผ่นชาร์ตตารางวิเคราะห์
 6. แผ่นชาร์ตไออะแกรม
 7. ปากกา
 8. ไม้ชี้
การวัดเเละประเมินผล
1. สังเกตจากการอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของไข่แต่ละฟอง
2. สังเกตจากการฟังและตอบคำถามของครู
3. จากการสังเกตการเปรียบเทียบลักษณะของไข่
การบูรณาการ
   - ภาษา
   - วิทยาศาสตร์
   - คณิตศาสตร์




แผนการสอน หน่วยไข่ (วันพุธ)
การเปลี่ยนแปลง เรื่อง การถนอมไข่
วัตถุประสงค์
   1.เด็กสามารถสังเกตไข่สดและไข่ที่เป็นไข่เค็มได้
   2.เด็กสามารถบอกวิธีในการทำไข่เค็มได้
   3.เด็กสามารถตอบคำถาม การสรุปผลการทดลองและแสดงความคิดเห็นได้
สาระที่ควรเรียนรู้
   การถนอมอาหารจากไข่ โดยการทำไข่เค็ม
ประสบการณ์สำคัญ 
   สังเกตการเปลี่ยนแปลงของไข่ 
   การสื่อความหมาย
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
   1.ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงไข่
ขั้นสอน
   2. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาพูดคุย ถึงวิธีในการถนอมอาหารจากไข่ โดยใช้คำถามว่า 
       เด็กๆคิดว่าการถนอมไข่สามสารถทำอะไรได้บ้าง นอกจากการทำไข่เค็ม
   3.ครูนำอุปกรณ์ในการทำไข่เค็มมาให้ดูแล้วให้เด็กๆทายว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง 
      วันนี้เราจะมาทำกิจกรรมอะไรกัน หลังจากนั้นครูก็สาธิตวิธีในการทำไข่เค็ม
      ให้เด็กๆดูเป็นตัวอย่าง
   4.เด็กๆลงมือปฏิบัติทำกิจกรรม ขั้นสรุป
   5.เด็กและครูพูดคุยสนทนากันหลังจากที่เด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้ว
   6.เด็กๆทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บของให้เข้าที่
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
   1.แผ่นชาร์จเพลงไข่
   2.ไข่เป็ด
   3.น้ำเกลือ
   4.ขวดโหล
   5.หม้อ/กระทะ
การวัดและการประเมินผล
   1.จากการสังเกตเด็กสามารถแยกระหว่างไข่สดกับไข่เค็มได้
   2.จากการสังเกตเด็กสามารถเข้าใจและบอกขั้นตอนการทำไข่เค็มได้
   3.จากการสังเกตเด็กสามารถตอบและแสดงความคิดเห็นได้
การบูรณาการ
   1.วิทยาศาสตร์
   2.คณิตศาสตร์
   3.การคิด/การสังเกต
   4.ภาษา

แผนการสอน หน่วยไข่ (วันพฤหัสบดี)
เรื่อง ประโชยน์ของไข่
วัตถุประสงค์                                                            
   1.เด็กสามารถบอกประโยชน์ของไข่ได้
   2.เด็กสามารถจัดหมวดหมู่ของไข่แต่ละประเภทได้
   3.เด็กสามารถบอกข้อควรระวังของไข่ได้
สาระที่ควรเรียนรู้ 
   ประโยชน์ของไข่
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านสติปัญญา
   การฟังเรื่องราวนิทาน คำคล้องจอง คำกลอน การจับคู่ การจำแนก และการจัดกลุ่ม
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
   1.ครูพาเด็กๆพูดคุยสนทนาเรื่องไข่และถามตอบรวมถึงบอกประโยชน์และข้อควรระวังด้วย 
      "เด็กๆรู้จักไข่อะไรบ้างเอ่ย " "เด็กๆคนไหนชอบกินไข่บ้าง ยกมือขึ้นให้คุณครูดูหน่อย" 
      "แล้วเด็กๆรู้หรือเปล่าว่าไข่มีประโยชน์อะไรบ้าง "และนอกจากไข่จะมีประโยชน์
       แล้วไข่ก็มีข้อควรระวังด้วยนะ"
   2.ครูเล่านิทานเรื่อง"ไข่"ให้เด็กฟัง
   3.เมื่อเด็กฟังนิทานจบ ครูถามเด็กว่าในนิทานเรื่อง "ไข่" ครูพูดถึงไข่อะไรบ้าง มีกี่ประเภท 
ขั้นสรุป
   4.ครูและเด็กสนทนาด้วยกันหลังฟังนิทานจบ อาจมีถามตอบอีกครั้ง
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
   -นิทานเรื่องไข่
การวัดและประเมินผล
   1.จากการสังเกตเด็กสามารถบอกประโยชน์ของไข่ได้
   2.จากการสังเกตเด็กสามารถจัดหมวดหมู่ไข่แต่ละประเภทได้
   3.จากการสังเกตเด็กสามารถบอกข้อควรระวังของไข่ได้
การบูรณาการ 
   - วิทยาศาสตร์  
   - คณิตศาสตร์ 
   - ภาษา

แผนการสอน หน่วยไข่ (วันศุกร์)
เรื่อง คุกกิ้งไข่พระอาทิตย์
วัตถุประสงค์
   1.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ข้อควรระวังของไข่
   2.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้คุณค่าของไข่
   3.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การทำอาหารเมนูไข่
สาระที่ควรเรียนรู้
   การทำอาหารจากไข่เมนูไข่พระอาทิตย์
ประสบการณ์สำคัญ
  ด้านสติปัญญา 
      - สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องไข่จากการลงมือทำอาหาร ทำให้เด็กได้เห็นคุณค่าของไข่
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
   1. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับประโยชน์และข้อควรระวังของไข่
ขั้นสอน
   2. ครูให้เด็กสังเกตอุปกรณ์และถามเด็กว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้าง และแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กๆฟัง
   3. ครูและเด็กร่วมกันทำอาหารเมนูไข่พระอาทิตย์โดยให้เด็กได้มีส่วนร่วม
       ในการจัดเตรียมวัตถุดิบและการทำอาหาร
ขั้นสรุป
   4. ครูและเด็กร่วมกันรับประทานอาหารเมนูไข่พระอาทิตย์
   5. ล้างมือให้สะอาด
   6. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเมนูไข่พระอาทิตย์และให้เด็กนำเสนอ
       ว่าตนเองนั้นได้ช่วยทำอะไรบ้าง
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
   1.ข้าวสวย
   2.ไข่ไก่
   3.ซอสปรุงรส
   4.น้ำมัน
   5.กะทะ
   6.ตะหลิว
   7.แครอท
การวัดและการประเมินผล
   1. จากการสังเกตเด็กสามารถบอกข้อควรระวังของไข่ได้
   2. จากการสังเกตเด็กสามารถบอกประโยชน์ของไข่ได้
   3. จากการสังเกตเด็กๆสามารถช่วยครูทำอาหารได้
การบูรณาการ
   - วิทยาศาสตร์
   - คณิตศาสตร์
   - ศิลปะ

ทักษะ 
     - ทักษะการฟัง
     - ทักษะการคิด
     - ทักษะการเขียน (แผนการสอน)
     - ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     - การทำของเล่นวิทยาสาสตร์ สามารถนำไปใช้เล่นกับเด็กหรือนำไปใช้ในการเรียนการสอน
       และให้เด็กได้ลงมือประดิษฐ์ทำเองได้
     - การเขียนแผนการสอน สามารถนำไปเป็นแบบอย่างและไปประยุกต์ใช้ในรายวิชอื่นได้
     
เทคนิคการสอนของอาจารย์
     - สอนโดยการบรรยาย
     - สอนโดยให้ข้อคิดข้อเสนอแนะ
     - สอนโดยให้ทำกิจกรรมกันเป็นกลุ่ม

การประเมิน
     - ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เตรียมอุปกรณ์ เนื้อหาการสอนมาครบถ้วน
     - ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกับเพื่อน
     - ประเมินเพื่อน     : เพื่อนให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ให้ข้อเสนอแนะที่ดี



คำศัพท์
  • Teaching plan = แผนการสอน
  • Different = แตกต่าง
  • Measurement and Evaluation = การวัดและประเมินผล
  • Analysis = การวิเคราะห์
  • Experiment = ทดลอง



วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Record 13
1 November 2016

         เมื่อนักศึกษาเข้าเรียนครบทุกคนแล้ว อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเปิดวีดีโอ
การทำของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่ได้อัพโหลดลงใน Youtube 
พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการทำวีดีโอ

กลุ่มที่ 1 เรื่องหลอดมหัศจรรย์



กลุ่มที่ 2 เรื่องรถพลังงานลม



กลุ่มที่ 3 เรื่องคานดีดไม้ไอติม



กลุ่มที่ 4 เรื่องขวดน้ำนักขนของ



เนื้อหาการเรียนการสอน
กรอบการเรียนรู้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ที่ต้องคำนึงถึงในการเขียนแผ่นชาท
1. กรอบการเคลื่อนไหวด้านร่างกาย
    - ความสัมพันธ์ระหว่างประสาทสัมผัสกับอวัยวะ > ตากับกล้ามเนื้อมัดเล็ก / การเขียน
    - สุขภาพอนามัยทำให้ร่างกายแข็งแรง > ออกกำลังกาย / รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    - การเปลี่ยนแปลงอวัยะส่วนต่างๆ คือ "การเจริญเติบโตที่ดี" > ส่วนสูง / น้ำหนัก
2. กรอบด้านอาารมณ์-จิตใจ
    - แสดงอารมณ์ทางความรู้สึก
    - รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
3. กรอบด้านสังคม
    - ต้องช่วยเหลือตนเอง
    - การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
4. กรอบด้านสติปัญญา (ระบบการทำงานของสมอง)
    - ภาษา > ตัวหนังสือ
    - การคิด > คิดเชิงเหตุผล / คิดแก้ปัญหา / คิดวิเคราะห์

ต่อมา อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มตามหน่วยของตนเอง แล้วอธิบายการสอน
เพื่อจะนำไปบูรณาการในการสอนทั้ง 6 สาระ ดังนี้
สาระที่ 1 คณิตศาสตร์
มาตรฐาน - จำนวนและการดำเนินการ
                - การวัด
                - เรขาคณิต
                - พีชคณิต
                - การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                - ทักษะและกระบวนการทางตณิตศาสตร์

สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์
ทักษะ      - การสังเกต
                - การจำแนก
                - การวัด
                - การคำนวณ
                - ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา
                - การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
                - การลงความเห็นข้อมูล
                - การพยากรณ์ 
กระบวนการทางวิทยาสาสตร์

                                    ตั้งประเด็นปัญหา
                                               v
                                      ตั้งสมมติฐาน
                                               v
                                  ทดลอง (เก็บข้อมูล)
                                               v
                                    สรุป / อภิปรายผล

มาตรฐาน - สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
                - ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
                - สารและสมบัติของสาร
                - แรงและการเคลื่อนที่
                - พลังงาน
                - กระบวนการการเปลี่ยนแปลงของโลก
                - ดาราศาสตร์และอวกาศ
                - ธรรมชาติของวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี

สาระที่ 3 ภาษา
    - ฟัง 
    - พูด 
    - อ่าน
    - เขียน

สาระที่ 4 ศิลปะ
     - วาดภาพ / ระบายสี
     - ฉีก / แปะ
     - ปั้น
     - ประดิษฐ์
     - พิมพ์

สาระที่ 5 สังคม
     - การมีปฏิสัมพันธ์
     - การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
     - การช่วยเหลือตนเอง
     - มารยาททางสังคม

สาระที่ 6 สุขศึกษา / พลศึกษา
     - การเคลื่อนไหว
     - สุขภาพอนามัย
     - การเจริญเติบโต



กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้เขียนแผนผังออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้
ของเด็กปฐมวัย โดยมี 6 กิจกรรมหลัก ดังนี้

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3. กิจกรรมสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. กิจกรรมเกมการศึกษา



ทักษะ 
     - ทักษะการฟัง
     - ทักษะการคิด
     - ทักษะการเขียน (Mind Mapping)
     - ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     - การทำของเล่นวิทยาสาสตร์ สามารถนำไปใช้เล่นกับเด็กหรือนำไปใช้ในการเรียนการสอน
       และให้เด็กได้ลงมือประดิษฐ์ทำเองได้
     - การเขียนแผนผัง สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในรายวิชาอื่นได้
     
เทคนิคการสอนของอาจารย์
     - สอนโดยการบรรยาย
     - สอนโดยให้ข้อคิดข้อเสนอแนะ
     - สอนโดยให้ทำกิจกรรมกันเป็นกลุ่ม

การประเมิน
     - ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เตรียมอุปกรณ์ เนื้อหาการสอนมาครบถ้วน
     - ประเมินตนเอง   : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกับเพื่อน
     - ประเมินเพื่อน     : เพื่อนให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ให้ข้อเสนอแนะที่ดี


คำศัพท์
  • Relationship = ความสัมพันธ์
  • Growth         = การเจริญเติบโต
  • Feeling         = ความรู้สึก
  • Prophecy      = พยากรณ์
  • Hypothesis   = สมมติฐาน